กระท้อน

 

รหัสพรรณไม้ : 7-50150-009-024


ชื่อวิทยาศาสตร์: Sandoricum koetjape Burm. f. Mer.


ชื่อพื้นเมือง: กระท้อน


ชื่อวงศ์: MELIACEAE


ชื่อสามัญ: Sentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol


ชื่ออื่น ๆ: เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ,อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ)สตียา สะตู (มาเลย์-นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี)


สรุปลักษณะและข้อมูลพันธุ์ไม้: ไม้ต้น สูง 6 – 8 ม. เปลือกลำต้นชั้นนอกมีสีเทา มีจุดสีขาวเป็นวงบริเวณลำต้นผิวเรียบ เปลือกไม่หลุดออก มียางสีแดงหรือสีน้ำตาล
    ใบ: ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรีโคนใบกลมหรือมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่น ผิวใบเป็นคลื่น มีไขนวลปกคลุมด้านล่างเส้นใบนูนเด่น ใบมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลือง แล้วค่อยๆ แดงแล้วจะร่วงหล่น ก้านใบมน
    ดอก: เป็นช่อตั้งเกิดตามปลายกิ่ง
    ผล: ผลเดี่ยวแบบผลสดเมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลืองผิวขรุขระ เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำรสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดกลมรี มีเยื่อหุ้มสีขาวเกิดมาจากเปลือก


ประโยชน์: 
     ใบสด : ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
     เปลือก : รักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน
     ผล : ฝาดสมาน เป็นอาหาร
     ราก : เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิดเป็นยาธาตุ
     ต้น : เป็นไม้ใช้สอย