เฟิร์นผักกูด

รหัสพันธุ์ไม้ : 7-50150-009-005


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Diplazium esculentum


ชื่อวงศ์ :  ATHYRIACEAE


ชื่อสามัญ :  Paco


ชื่อพื้นเมืองอื่น : กูดกิน, กูดคึ (ภาคเหนือ) ; กูดน้ำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ; ไก้กวิลุ, ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; ผักกูด (ทั่วไป) ; ผักกูดขาว (ชลบุรี) ; หัสดำ (ภาคใต้)  


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชจำพวกเฟิร์น (TerF) ลักษณะเป็นเหง้าหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงสูงกว่า 1 เมตร มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขอบเกล็ดหยักซี่ฟัน

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบมีขนาดแตกต่างกัน มักยาวกว่า 1 เมตร ก้านใบยาว 70 ซม. กลุ่มใบย่อยคู่ล่างมักลดขนาดปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปกึ่งหัวใจหรือรูปติ่งหู ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบย่อยเป็นแฉก ปลายมน ขอบหยักซี่ฟัน แผ่นใบบาง กลุ่มอับสปอร์อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อย มักเชื่อมกับกลุ่มสปอร์ที่อยู่ในแฉกติดกัน ซึ่งมีเส้นใบมาสานกัน


ประโยชน์ :

  1. ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (
  2. ผักกูดอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและเบตาแคโรทีน การรับประทานผักกูดร่วมกับเนื้อสัตว์จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย

      3. ใบผักกูดนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน